วันอังคารที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติของคอมพิวเตอร์

ประวัติของคอมพิวเตอร์

Charles Babbage บิดาแห่งคอมพิวเตอร์
           คอมพิวเตอร์ในยุคเริ่มแรก ได้แก่ เครื่องจักรกลหรือสิ่งประดิษฐ์ขึ้นเพื่อช่วยในการ คำนวณ โดยที่ยังไม่มีการ นำวงจรอิเล็กทรอนิกส์  เข้ามาใช้ประโยชน์ร่วมด้วยลำดับเครื่องมือขึ้นมามีดังนี้
           ในระยะ 5,000 ปีที่ผ่านมา มนุษย์เริ่มรู้จักการใช้นิ้วมือและนิ้วเท้าของตนเพื่อช่วยในการคำนวณ และพัฒนา มาใช้อุปกรณ์อื่น ๆ เช่น ลูกหิน ใช้เชือกร้อยลูกหินคล้ายลูกคิด
           ต่อมาประมาณ 2,600 ปีก่อนคริสตกาล ชาวจีนได้ประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อใช้ในการ คำนวณขึ้นมาชนิดหนึ่ง เรียกว่า ลูกคิด ซึ่งถือได้ว่า เป็นอุปกรณ์ใช้ช่วยการคำนวณที่เก่าแก่ที่สุดในโลกและคงยังใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน
          พ.ศ. 2158 นักคณิตศาสตร์ชาวสก็อตแลนด์ชื่อ John Napier ได้ประดิษฐ์อุปกรณ์ใช้ ช่วยการคำนวณขึ้นมา เรียกว่า Napier's Bones เป็นอุปกรณ์ที่ลักษณะคล้ายกับตารางสูตรคูณในปัจจุบัน เครื่องมือชนิดนี้ช่วยให้ สามารถ ทำการคูณและหาร ได้ง่ายเหมือน กับทำการบวก หรือลบโดยตรง
  
          พ.ศ 2185 นักคณิตศาสตร์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Blaise Pascal ซึ่งในขณะนั้นมีอายุเพียง 19 ปี ได้ออกแบบ เครื่องมือในการคำนวณโดยใช้หลักการหมุนของฟันเฟืองหนึ่งอันถูกหมุนครบ 1 รอบ ฟันเฟืองอีกอันหนึ่งซึ่งอยู่ ทางด้านซ้ายจะถูกหมุนไปด้วยในเศษ 1 ส่วน 10 รอบ เครื่องมือของปาสคาลนี้ถูกเผยแพร่ออกสู่สาธารณะชน เมื่อ พ.ศ. 2188 แต่ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเนื่องจากราคาแพง และเมื่อใช้งานจริงจะเกิดเหตุการณ์ที่ฟันเฟืองติดขัดบ่อยๆ ทำให้ผลลัพธ์ที่ได้ไม่ค่อยถูกต้องตรงความเป็นจริง
       เครื่องมือของปาสคาล สามารถใช้ได้ดีในการคำนวณการบวกและลบ ส่วนการคูณและหารยังไม่ดีเท่าที่ควร ดังนั้นในปี พ.ศ. 2216 นักปราชญษชาวเยอรมันชื่อ Gottfriend von Leibnitz ได้ปรับปรุงเครื่งคำนวณของ ปาสคาลให้สามารถทหการคูณและหารได้ ้โดยตรง โดยที่การคูณใช้หลักการบวกกันหลายๆ ครั้ง และการหาร ก็คือการลบกันหลายๆ ครั้ง แต่เครื่องมือของ Leibnitz ยังคงอาศัยการหมุนวงล้อ ของเครื่องเองอัตโนมัติ นับว่า เป็นเครื่องมือที่ช่วยให้การคำนวณทางคณิตศาสตร์ที่ดูยุ่งยากกลับเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้น
        พ.ศ. 2344 นักประดิษฐ์ชาวฝรั่งเศลชื่อ Joseph Marie Jacquard ได้พยายามพัฒนาเครื่องทอผ้าโดยใช้ บัตรเจาะรูในการบันทึกคำสั่ง ควบคุมเครื่องทอผ้าให้ทำตามแบบที่กำหนดไว้ และแบบดังกล่าวสามารถนำมา สร้างซ้ำๆ ได้อีกหลายครั้ง ความพยายามของ Jacquard สำเร็จลงใน พ.ศ. 2348 เครื่องทอผ้านี้ถือว่าเป็น เครื่องทำงานตามโปรแกรมคำสั่งเป็นเครื่องแรก
         พ.ศ. 2373 Chales Babbage ถือกำเนิดที่ประเทศอังกฤษ เมื่อ พ.ศ. 2334 จบการศึกษาทางด้านคณิตศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และได้รับตำแหน่ง Lucasian Professor ซึ่งเป็นตำแหน่งที่ Isaac Newton เคยได้รับมาก่อน ในขณะที่กำลังศึกษาอยู่นั้น Babbage ได้สร้างเครื่อง หาผลต่าง (Difference Engine) ซึ่งเป็นเครื่องที่ใช้คำนวณ และพิมพ์ตารางทางคณิศาสตร์อย่างอัตโนมัติ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2373 เขาได้รับความช่วยเหลือจากรัฐบาลอังกฤษเพื่อสร้างเครื่อง Difference Engine ขึ้นมาจริงๆ แต่ในขณะที่ Babbage ทำการสร้างเครื่อง Difference Engine อยู่นั้น ได้พัฒนาความคิดไปถึง เครื่องมือในการคำนวนที่มีความสามารถสูงกว่านี้ ซึ่งก็คอืเครื่องที่เรียกว่าเครื่องวิเคราะห์ (Analytical Engine) และได้ยกเลิกโครงการสร้างเครื่อง Difference Engine ลงแล้วเริ่มต้นงานใหม่ คือ งานสร้างเครื่องวิเคราะห์ ในความคิดของเขา โดยที่เครื่องดังกล่าวประกอบไปด้วยชิ้นส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน คือ
 1.ส่วนเก็บข้อมูล เป็นส่วนที่ใช้ในการเก็บข้อมูลนำเข้าและผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณ
2. ส่วนประมวลผล เป็นส่วนที่ใช้ในการประมวลผลทางคณิตศาสตร์
3. ส่วนควบคุม เป็นส่วนที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายข้อมูลระหว่างส่วนเก็บข้อมูล และส่วนประมวลผล
4. ส่วนรับข้อมูลเข้าและแสดงผลลัพธ์ เป็นส่วนที่ใช้รับทราบข้อมูลจากภายนอกเครื่องเข้าสู่ส่วนเก็บ และแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการคำนวณให้ผู้ใช้ได้รับทราบ
       เป็นที่น่าสังเกตว่าส่วนประกอบต่างๆ ของเครื่อง Alaytical Engine มีลักษณะใกล้เคียงกับส่วนประกอบ ของระบบคอมพิวเตอร์ ในปัจจุบัน แต่น่าเสียดายที่เครื่อง Alalytical Engine ของ Babbage นั้นไม่สามารถ สร้างให้สำเร็จขึ้นมาได้ ทั้งนี้เนื่องจากเทคโนโลยี สมัยนั้นไม่สามารถสร้างส่วนประกอบต่างๆ ดังกล่าว และอีกประการหนึ่งก็คือ สมัยนั้นไม่มีความจำเป็น ต้องใช้เครื่องที่มีความสามารถสูงขนาดนั้น ดังนั้นรัฐบาล อังกฤษจึงหยุดให้ความสนับสนุนโครงการของ Babbage ในปี พ.ศ. 2385 ทำให้ไม่มีทุนที่จะทำการวิจัยต่อไป สืบเนื่องจากมาจากแนวความคิดของ Analytical Engine เช่นนี้จึงทำให้ Charles Babbage ได้รับการยกย่อง ให้เป็น บิดาของเครื่องคอมพิวเตอร์
         พ.ศ. 2385 ชาวอังกฤษ ชื่อ Lady Auqusta Ada Byron ได้ทำการแปลเรื่องราวเกี่ยวกับเครื่อง Anatical Engine จากภาษาฝรั่งเศลเป็นภาษาอังกฤษ ในระหว่างการแปลทำให้ Lady Ada เข้าใจถึงหลักการทำงาน ของเครื่อง Analytical Engine และได้เขียนรายละเอียดขั้นตอนของคำสั่งให้เครื่องนี้ทำการคำนวณที่ยุ่งยาก ซับซ้อนไว้ในหนังสือทางคณิตศาสตร์เล่มหนึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์โปรแกรมแรกของโลก และจากจุดนี้จึงถือว่า Lady Ada เป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก (มีภาษาที่ใช้เขียนโปรแกรมที่เก่แก่ อยู่หนึ่งภาษาคือภาษา Ada มาจาก ชื่อของ Lady Ada) นอกจากนี้ Lady Ada ยังค้นพบอีกว่าชุดบัตรเจาะรู ที่บรรจุคำสั่งไว้สามารถนำกลับมาทำงานซ้ำได้ถ้าต้องการ นั่นคือหลักของการทำงานวนซ้ำ หรือเรียกว่า Loop เครื่องมือที่ใช้ในการคำนวณที่ถูกพัฒนาขึ้นในศตวรรษที่ 19 นั้น ทำงานกับเลขฐานสิบ (Decimal Number) แต่เมื่อเริ่มต้นของศตวรรษที่ 20 ระบบคอมพิวเตอร์ได้ถูกพัฒนาขึ้นจึงทำให้มีการเปลี่ยนแปลงมาใช้ เลขฐานสอง (Binary Number) กับระบบคอมพิวเตอร์ ที่เป็นผลสืบเนื่องมาจากหลักของพีชคณิต
       พ.ศ.2393 ยอร์จ บูล ( George Boole) นักคณิตศาสตร์ชาวอังกฤษ ได้คิดระบบ พีชคณิตระบบใหม่เรียกว่า Boolean Algebra โดยใช้อธิบายหลักเหตุผลทางตรรกวิทยาโดยใช้สภาวะเพียงสองอย่างคือ True (On) และ False (Off) ร่วมกับเครื่องหมายในทางตรรกะพื้นฐาน ได้แก่ NOT AND และ OR ต่อมาระบบเลขฐานสอง และ Boolean Algebra ก็ได้ถูกนำมาดัดแปลงให้เข้ากับวงจรไฟฟ้า ซึ่งมีสภาวะ 2 แบบ คือ เปิด , ปิด จึงนับเป็นรากฐานของการออกแบบวงจรในระบบคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน (Digital Computer)
       พ.ศ.2480-2481 ดร.จอห์น วินเซนต์ อตานาซอฟ ( Dr.Jobn Vincent Atansoff) และ คลิฟฟอร์ด แบรี่ ( Clifford Berry) ได้ประดิษฐ์เครื่อง ABC ( Atanasoff-Berry) ขึ้น โดยได้นำหลอดสุญญากาศมาใช้งาน ABC ถือเป็นเครื่องคำนวณเครื่องแรกที่เป็นเครื่องอิเล็กทรอนิกส์
       พ.ศ.2487 ศาสตราจารย์โอเวิร์ด ไอด์เคน (Howard Aiken) แห่งมหาวิทยาลัยฮาวาร์ด ร่วมกับวิศวกรของบริษัทไอบีเอ็มได้สร้างเครื่อง MARK I เป็นผลสำเร็จแต่อย่างไรก็ตามเครื่อง MARK I นี้ยังไม่ใช่คอมพิวเตอร์ที่แท้จริงแต่เป็นเครื่องคิดเลขไฟฟ้าขนาดใหญ่เท่านั้น
พ.ศ.2485-2495 มหาวิทยาลัยเพนซิลเลเนียได้สร้างเครื่อง ENIAC (Electronic Numerical Integrator And Calculator) นับได้ว่าเป็นเครื่องคำนวณอิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลกที่ใช้หลอดสูญญากาศ และควบคุมการทำงานโดยวิธีเจาะชุดคำสั่งลงในบัตรเจาะรู
       พ.ศ.2492 ดร.จอห์น ฟอน นิวแมนน์ ( Dr.John Von Neumann ) ได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถเก็บคำสั่งการปฏิบัติงานทั้งหมดไว้ภายในเครื่อง ชื่อว่า EDVAC นับเป็นคอมพิวเตอร์เครี่องแรกที่สามารถเก็บโปรแกรม ไว้ในเครื่องได้
       พ.ศ.2496-2497 บริษัทไอบีเอ็มได้สร้างคอมพิวเตอร์ชื่อ IBM 701 และ IBM 650 โดยใช้หลอดสุญญากาศเป็นวัสดุสร้าง ต่อ มาเกิดมีการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ที่เป็นสารกึ่งตัวนำขึ้นที่ห้องปฏิบัติการของบริษัท Bell Telephone ได้เกิดทรานซิสเตอร์ตัวแรกขึ้น ต่อ มาทรานซิสเตอร์ได้ถูกนำไปแทนหลอดสูญญากาศ จึงทำให้ขนาดของคอมพิวเตอร์เล็กลงและเกิดความร้อนน้อยลง ( เครื่องที่ใช้ทรานซิสเตอร์ได้แก่ IBM 1401และ IBM 1620 )
       พ.ศ.2508 วงจรคอมพิวเตอร์มีการเปลี่ยนแปลงอีกมากเมื่อมีวงจรรวม ( Integrated Circuit: IC) เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
       พ.ศ.2514 บริษัท Intel ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ ( Large Scale Integrated Circuit :LSI ) ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง ( CPU) ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซีนี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ ( Microprocessor)
       พ.ศ.2506ประเทศไทยเริ่มมีคอมพิวเตอร์ใช้เป็นครั้งแรก โดยที่คอมพิวเตอร์เครื่องแรกในประเทศไทยได้ติดตั้งที่ ภาควิชาสถิติ คณะพานิชยศาสตร์และการบัญชีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนี้คือ IBM 1620 ซึ่งได้รับมอบจากมูลนิธิเอไอดี และบริษัทไอบีเอ็ม แห่ง ประเทศไทยจำกัด ปัจจุบันหมดอายุการใช้งานไปแล้ว จึงได้มอบให้แก่ศูนย์บริภัณฑ์การศึกษาท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ
       พ.ศ.2507เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สองของประเทศไทยติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ในเดือนมีนาคม 2507
          พ.ศ.2508 วงจรคอมพิวเตอร์ก็มีการเปลี่ยนแปลง อีกมากขึ้นเมื่อมีวงจรรวม 6 <Integrated Circuit> หรือ IC เกิดขึ้น ซึ่งไอบีเอ็มนี้ได้ถูกนำไปแทนที่ทรานซิสเตอร์ ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์ของระบบคอมพิวเตอร์อีกครั้ง ซึ่งผลก็คือทำให้คอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลง
       พ.ศ.2514 ก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่วงการคอมพิวเตอร์อีกครั้นเมื่อบริษัทอินเทล < Intel Coperation > ได้ใช้เทคโนโลยีของการผลิตวงจรรวมแบบ Large ScaleIntergeated Circuit หรือ LSI ทำการรวมเอาวงจรที่ใช้เป็นหน่วยประมวลผลกลาง< Central Processing Unit หรือ CPU > ของคอมพิวเตอร์มาบรรจุอยู่ในแผ่นไอซีเพียงตัวเดียวซึ่ง ไอซี นี้เรียกว่าไมโครโปรเซสเซอร์ < Microprocessor >เมื่อนำไมโครโปรเซสเซอร์ มารวมกับหน่วยความจำ <Memory>หน่วยอินพุต และ เอาท์พุต< Input Output Unit>ก็จะทำให้ได้เป็นระบบคอมพิวเตอร์ขึ้นมาแต่เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีขนาดเล็ก ซึ่งเรียกว่า ไมโครโปรเซสเซอร์ ซึ่งก็หมายความว่าเป็นระบบคอมพิวเตอร์ที่ใช้ไมโครโปรเซสเซอร์เป็นหน่วยประมวลผลกลางนั่นเอง
       ยุคของคอมพิวเตอร์
       ตั้งแต่ปี พ.ศ.2493 เป็นต้นไปได้มีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานต่างๆ อย่างแพร่หลายจึงได้เริ่มมีการจัดยุคหรือช่วงเวลาของคอมพิวเตอร์โดยถือเอาความเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเป็นหลักในการแบ่งยุค ได้มีการแบ่งยุคคอมพิวเตอร์ออกเป็น 5 ยุค คือ
       ยุคที่หนึ่งของคอมพิวเตอร์ (FIRST GENERATION) (พ.ศ.2494-2501)
       - ลักษณะของเครื่อง มีขนาดใหญ่โตมาก เกิดความร้อนสูง จึงต้องติดตั้งในห้องปรับ อากาศตลอดเวลา
       - วัสดุที่ใช้สร้าง ใช้หลอดสูญญากาศเป็นหน่วยความจำภายใน
       - สื่อข้อมูลที่ใช้ บัตรเจาะรู เทปกระดาษ และเทปแม่เหล็ก
       - ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ภาษาเครื่อง (Machine Language)และภาษาแซมบลี (Assembly)
       - ตัวอย่างเครื่อง UNIVAC I IBM 650 IBM701 NCR102
       ยุคที่สองของคอมพิวเตอร์ (SECOND GENERATION) 
       - ลักษณะของเครื่อง มีขนาดเล็กลง ใช้ความร้อนน้อยลง ทำงานได้เร็วขึ้น
       - วัสดุที่ใช้ใช้ทรานซิสเตอร์แทนหลอดสูญญากาศ และ มีวงแหวนแม่เหล็ก(Magnatic Core)เป็นหน่วยความจำภายใน
       - ความเร็วในการทำงาน มิลลิเซคคั่น
       - สื่อข้อมูลที่ใช้ ใช้บัตรเจาะรูและเทปแม่เหล็กเป็นส่วนใหญ่
       - ภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาฟอร์แทรน (Fortran) และภาษาโคบอล (Cobol)
       - ตัวอย่างเครื่อง IBM1620 IBM1401 CDC1604 NCR315
       ยุคที่สามของคอมพิวเตอร์ (THARD GENERATION) [ พ.ศ.2508-2514 ] 
       - ลักษณะของเครื่อง มีขนาดเล็กลงกว่าเดิมอีก ใช้ความร้อนน้อยลงไปอีก มีความ เร็วเพิ่มยิ่งขึ้นอีก และมีมินิคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น
       - วัสดุที่ใช้สร้าง ใช้ไอซีแทนทรานซิสเตอร์เป็นหน่วยความจำภายใน ซึ่งสามารถทำงานได้เท่ากับ
ทรานซิสเตอร์หลายร้อยตัว
       - ความเร็วในการทำงาน ไมโครเซคคั่น
       - สื่อข้อมูลที่ใช้ บัตรเจาะรู เทปแม่เหล็ก จานแม่เหล็ก
       - ภาษาคอมพิวเตอร์ที่ใช้ ภาษาพีแอลวัน (PL/1)และภาษาอาร์พีจี (RPG)
       - ตัวอย่างเครื่อง IBM360 CDC3300 NCR395 UNIVAC9400
       ยุคที่สี่ของคอมพิวเตอร์ (FOURTH GENERATION) [ พ.ศ.2515-2523 ] 
       - ลักษณะของเครื่อง มีไมโครคอมพิวเตอร์เกิดขึ้น ซึ่งไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องปรับ อากาศ ความพิวเตอร์ทำงานเร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
       - วัสดุที่ใช้สร้าง ใช้แอล เอส ไอ เป็นหน่วยความจำภายใน ซึ่งสามารถทำ งานได้เท่ากับทรานซิสเตอร์พันตัว
       - ความเร็วในการทำงาน นาโนเซคคั่นและพิคโคเซคคั่น
สื่อข้อมูล เทปแม่เหล็กและจานแม่เหล็กส่วนบัตรเจาะรูใช้น้อยลงมากกว่ายุคก่อน
       ยุคที่ห้า (Fifth Generation Computer) พ.ศ. 2533 จนถึงปัจจุบัน
       ในยุคนี้ ได้มุ่งเน้นการพัฒนา ความสามารถในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และ ความสะดวกสบายในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ อย่างชัดเจน มีการพัฒนาสร้างเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาขนาดเล็กขนาดเล็ก (Portable Computer) ขึ้นใช้งานในยุคนี้ โครงการพัฒนาอุปกรณ์ VLSI ให้ใช้งานง่าย และมีความสามารถสูงขึ้น รวมทั้งโครงการวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับ ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) เป็นหัวใจของการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ในยุคนี้ โดยหวังให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ สามารถวิเคราะห์ปัญหาด้วยเหตุผล
         องค์ประกอบของระบบปัญญาประดิษฐ์ ประกอบด้วย 4 หัวข้อ ได้แก่1. ระบบหุ่นยนต์ หรือแขนกล (Robotics or Robotarm System)คือหุ่นจำลองร่างกายมนุษย์ที่ควบคุมการทำงานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ มีจุดประสงค์เพื่อให้ทำงานแทนมนุษย์ในงานที่ต้องการความเร็ว หรือเสี่ยงอันตราย เช่น แขนกลในโรงงานอุตสาหกรรม หรือหุ่นยนต์กู้ระเบิด เป็นต้น
       - ระบบประมวลภาษาพูด (Natural Language Processing System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถสังเคราะห์เสียงที่มีอยู่ในธรรมชาติ (Synthesize) เพื่อสื่อความหมายกับมนุษย์ เช่น เครื่องคิดเลขพูดได้ (Talking Calculator) หรือนาฬิกาปลุกพูดได้ (Talking Clock) เป็นต้น
       -การรู้จำเสียงพูด (Speech Recognition System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์เข้าใจภาษามนุษย์ และสามารถจดจำคำพูดของมนุษย์ได้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือเป็นการพัฒนาให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานได้ด้วยภาษาพูด เช่น งานระบบรักษาความปลอดภัย งานพิมพ์เอกสารสำหรับผู้พิการ เป็นต้น4. ระบบผู้เชี่ยวชาญ (Expert System) คือ การพัฒนาให้ระบบคอมพิวเตอร์มีความรู้ รู้จักใช้เหตุผลในการวิเคราะห์ปัญหา โดยใช้ความรู้ที่มี หรือจากประสบการณ์ในการแก้ปัญหาหนึ่ง ไปแก้ไขปัญหาอื่นอย่างมีเหตุผล ระบบนี้จำเป็นต้องอาศัยฐานข้อมูล (Database) ซึ่งมนุษย์ผู้มีความรู้ความสามารถเป็นผู้กำหนดองค์ความรู้ไว้ในฐานข้อมูลดังกล่าว เพื่อให้ระบบคอมพิวเตอร์สามารถวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ได้จากฐานความรู้นั้น เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์วิเคราะห์โรค หรือเครื่องคอมพิวเตอร์ทำนายโชคชะตา เป็นต้น
       บทบาทของคอมพิวเตอร์
       ในปัจจุบัน คอมพิวเตอร์ได้กลายเป็นสิ่งสำคัญในชีวิตของเรา และความสำคัญนี้ได้ทวีมากยิ่งขึ้นในอนาคต คอมพิวเตอร์ได้เข้าไปมีบทบาทในทุกวงการอาชีพ โดยเฉพาะกับงานที่มีข้อมูลมาก ๆ และกำลังจะกลายเป็นเครื่องใช้สามัญในบ้านเหมือนกับเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานต่าง ๆ จำแนกได้ดังนี้
       1. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในสถานศึกษา
       1.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริหาร เช่น การคิดคะแนน
       1.2 ทำทะเบียนบุคลากร
       1.3 คอมพิวเตอร์ช่วยในงานบริการ เช่น งานห้องสมุด งานแนะแนว
       1.4 คอมพิวเตอร์ช่วยในการเรียนการสอน

       2. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงราชการ
       2.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการทำทะเบียนราษฎร์
       2.2 คอมพิวเตอร์ช่วยในการนับคะแนนเลือกตั้ง คิดภาษี อากร การบริหารทั่วไป
       2.3 คอมพิวเตอร์ช่วยในการรวบรวมข้อมูลและสถิติ
       2.4 การบริหารงานทั่วไปของหน่วยงานราชการทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็ว

       3. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานสังคมศาสตร์
       3.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในงานวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบออกมาอย่างรวดเร็วและถูกต้อง

       4. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในวงการแพทย์
       4.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการบันทึก
       4.2 ค้นหาทะเบียนประวัติผู้ป่วย
       4.3 คอมพิวเตอร์ช่วยในการวินิจฉัยโรค เช่น ตรวจคลื่น สมอง บันทึกการเต้นของหัวใจ
       4.4 คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง ของอวัยวะก่อนการผ่าตัด

       5. บทบาทการสื่อสาร
       5.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการจองตั๋วเครื่องบิน
       5.2 คอมพิวเตอร์ช่วยในการเก็บข้อมูล สถิติของผู้โดยสาร
       5.3 คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมการจราจรทางอากาศ

       6. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธุรกิจ
       6.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการวางแผนธุรกิจ
       6.2 คอมพิวเตอร์ช่วยในการประเมินสถานการณ์ทาง เศรษฐกิจในอนาคตได้อย่างแม่นยำ
       6.3 คอมพิวเตอร์ช่วยงานธุรการ เช่น งานพัสดุ งานภาษี การทำจดหมายโต้ตอบ

       7. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานธนาคาร
       7.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการรับฝากและถอนเงิน ที่เป็นภาระกิจประจำของธนาคาร
       7.2. คอมพิวเตอร์ช่วยในการคิดดอกเบี้ยในอัตราต่างๆ
       7.3 คอมพิวเตอร์ช่วยให้ลูกค้า ฝากถอนเงินด่วน หรือโอนเงินจากเครื่องได้โดยอัตโนมัติ (ATM)

       8. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิศวกรรม
       8.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบ
       8.2 คอมพิวเตอร์ช่วยในการควบคุมหุ่นยนต์ให้ทำงาน
       8.3 คอมพิวเตอร์ช่วยในการคำนวณโครงสร้าง วางแผน ควบคุมการก่อสร้าง

       9. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในงานวิทยาศาสตร์
       9.1 คอมพิวเตอร์ช่วยในการเปรียบเทียบ คัดเลือกข้อมูล
       9.2 คอมพิวเตอร์ช่วยในการทดลองที่เป็นอันตราย
       9.3 คอมพิวเตอร์ช่วยในการเดินทางของยานอวกาศและการสื่อสารผ่านดาวเทียม

       10. บทบาทของคอมพิวเตอร์ในร้านค้าปลีก

       11. ห้างสรรพสินค้าใหญ่ ๆ ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์คิดเงินแทนเครื่องคิดเลข

       12. การอ่านรหัสด้วยเครื่องอ่าน (Barcode)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น