วันพุธที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติคอมพิวเตอร์ประเทศไทยและผู้บุกเบิก

ประวัติคอมพิวเตอร์ประเทศไทยและผู้บุกเบิก

ประวัติคอมพิวเตอร์ประเทศไทย และผู้บุกเบิก


















          คอมพิวเตอร์ในประเทศไทย เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2506 โดย ผู้ที่ริเริ่มนำเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้ในประเทศไทยคนแรก คือ ศาสตราจารย์บัณฑิต กันตะบุตร หัวหน้าภาควิชาสถิติและเลขาธิการสถิติแห่งชาติ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2506 เครื่องที่ใช้ ครั้งแรกคือ เครื่อง IBM 1620 ( ในขณะนั้นประมาณสองล้านบาทเศษ) ซึ่งติดตั้งที่คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย
        
เริ่มใช้ในการศึกษา วิจัย การพัฒนาสถิติของประเทศ เน้นในด้านการปฏิบัติงานสำ
มะโนและในด้านการค้นคว้า และวิจัยนานาประการ หลายประเทศ เช่น มาเลเซีย 
ศรีลังกา และสิงคโปร์ก็สนใจส่ง เจ้าหน้าที่มาดูการ 
ปฏิบัติงานของเครื่องอีกด้วย เพราะประเทศของเขาเองยังไม่มี โดยในปัจจุบัน 
(พ.ศ. 2554)เครื่องนี้อยู่ที่ท้องฟ้าจำลอง กรุงเทพ 
      
         นับจากวันนั้นมาคอมพิวเตอร์เมนเฟรมถูกนำเข้ามาใช้งานอย่างกว้างขวางตามหน่วยงานต่าง
ทั้งภาครัฐ เอกชน และมหาวิทยาลัย 
และเป็นไอบีเอ็มอีกนั่นแหละที่ร่วมบุกเบิกคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล 
เปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปนำคอมพิวเตอร์ไปใช้งานทำบัญชี เขียนรายงาน 
นำเสนองาน วาดภาพ และจิปาถะ ก่อนขายธุรกิจคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและโน้ตบุ๊กให้เลอโนโวสานต่อ

        จากเครื่องคอมพิวเตอร์แรก ก็มีวิวัฒนาการ Timeline ในการนำมาใช้ในประเทศไทยต่อมา ตามลำดับดังนี้

  •                 ปี พ.ศ.2507 เดือนมีนาคม เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องที่สอง ได้แก่ "เมนเฟรมคอมพิวเตอร์" IBM 1401
    ( มูลค่าประมาณ 8 ล้านบาท ) 
    ขนาดพอกับเครื่องถ่ายเอกสารประจำสำนักงาน
    ติดตั้งที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ ใช้งานเก็บบันทึกข้อมูลประชากร
    การนำมาประมวลผล การสำรวจสำมะโนประชากร เพื่อใช้กำหนดนโนบายเศรษฐกิจและสังคม จากเดิมต้องใช้เวลานานหลายปี แต่เมื่อนำระบบคอมพิวเตอร์ประมวลผลสูงเข้ามาใช้ การรวบรวมข้อมูลประชากรทั่วประเทศสามารถทำเสร็จในเพียง 18 เดือน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น